วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์

ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
ทางตะวันออกติดกับลาว
ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)
ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง : จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4
สกุลเงิน : รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี คือ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) (ตุลาคม 2547)

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์



สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ




 ฟิลิปปินส์จะประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ถึง 7,107 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่จริงเพียงประมาณ 2,000 เกาะเท่านั้น ที่เหลือเป็นเกาะภูเขาไฟและเกาะขนาดเล็ก ซึ่งบางแห่งจะจมอยู่ใต้ทะเลขณะที่น้ำขึ้นสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีเกาะที่ยังไม่ได้สำรวจและไม่มีชื่อเรียกอีกกว่า 2,500 เกาะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบแคบๆ ตามชายฝั่งทะเล การเดินทางระหว่างเกาะจึงใช้เครื่องบินเป็นหลัก
ด้วยสภาพทางธรณีวิทยาทำให้ฟิลิปปินส์มักประสบปัญหาแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ปะทุอยู่เนืองๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภูมิศาสตร์บ่อยครั้ง ปัจจุบันมีภูเขาไฟอย่างน้อย 22 ลูกยังคุกรุ่นพร้อมปะทุตลอดเวลา ภูเขาไฟสำคัญ ได้แก่ มายอน (Mayon) ใกล้เมืองลีกาสปี (Legaspi) ตาอัล (Taal) อยู่ทางใต้ของกรุงมะนิลา ปินาตูโบ (Pinatubo) ซึ่งระเบิดไปเมื่อ ปี 2534 และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเวลาต่อมา และ อาโป (Apo) ซึ่งเป็นยอดเขาสูงที่สุดในฟิลิปปินส์ โดยมีความสูงกว่า 2,954 เมตร อยู่บนเกาะมินดาเนา
ฟิลิปปินส์มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ทองแดง ทองคำ และโครเมียมมากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ส่วนสายแร่อื่นๆ ได้แก่ นิกเกิล เงิน ถ่านหิน ยิปซั่ม ทราย หินปูน หินอ่อน กำมะถัน ดินขาว และ ฟอสเฟต ด้วยชายฝั่งทะเลที่ยาวเกือบ 36,300 กิโลเมตร ท้องทะเลจึงอุดมไปด้วยหอยนานาพันธุ์กว่า 12,000 ชนิด ส่วนปลามีไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาเก๋า ปลาแมกเคอเรล ปลาราวด์เฮอร์ริง เป็นต้น รวมถึงกุ้งมังกร และกุ้งอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีนกมากกว่า 1,000 ชนิด กล้วยไม้ราว 800 ชนิด และพืชอื่นๆ อีกกว่า 8,500 ชนิด อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์กำลังเผชิญปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมมากขึ้นเป็นลำดับทั้งมลภาวะในดิน น้ำ และอากาศ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร รวมถึงการลดลงของพื้นที่เกษตรและป่าไม้ การบำบัดของเสียไม่เหมาะสม ความเสื่อมโทรมของปะการังและพื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นต้น
ภูมิประเทศของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่เกาะ การปกครองแบ่งเป็น 17 เขต (Regions) 79 จังหวัด (Provinces) และ 117 เมือง (Cities) ดังนี้
1) ลูซอน (Luzon) เป็นหมู่เกาะทางตอนเหนือของประเทศ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา มี 8 เขต
2) วิสายาส์ (Visayas) อยู่ทางตอนกลางของประเทศ มี 3 เขต
3) มินดาเนา (Mindanao) อยู่ทางตอนใต้ มี 6 เขต

 



มาเลเซีย


 มาเลเซีย : Malaysia

การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
 

ลักษณะภูมิประเทศ

  1. มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
  2. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ

  • ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม

 

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam

การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซา
หน่วยเงินตรา : ด่อง

 ลักษณะภูมิประเทศ
   เนื่องจากแผ่นดินของเวียดนามมีลักษณะแคบแต่มีความยาวมาก ทำให้ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

ภาคเหนือ
   ภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงมากมาย โดยเฉพาะเทือกเขาฟานซีปาน (Fansipan) สูงถึง 3,143 เมตร ซึ่งสูงที่สุดในอินโดจีน มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำกุง (Cung) ซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแดงเป็นดินดอนสามเหลี่ยมที่อุดมสมบูรณ์ (Red River Delta) เหมาะแก่การเพาะปลูกและยังเป็นที่ตั้งของเมืองฮานอย
(Ha Noi) อันเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ ยังมีที่ราบลุ่ม Cao Bang Lang Son และ Vinh Yen รวมถึงอ่าว Halong Bay อันมีชื่อเสียงด้านธรรมชาติที่งดงาม เวียดนามมีชนกลุ่มน้อยหลากหลาย และเนื่องจากพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอากาศหนาวซึ่งได้รับอิทธิพลกระแสอากาศจากขั้วโลกที่พัดผ่านไซบีเรีย และจีน เข้ามายังเวียดนาม ทำให้มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น

ภูมิอากาศในเขตภาคเหนือแบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู คือ

        ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-เมษายน) มีฝนตกเล็กน้อยและความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 17 ํ C - 23 ํ C
         ฤดูร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) อากาศร้อนและมีฝน อุณหภูมิประมาณ 30 ํC - 39 ํ C  เดือนที่ร้อนที่สุดคือ มิถุนายน
         ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิ 23 ํC - 28 ํ C
         ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบปี คือ ประมาณ 7 ํC - 20 ํ C แต่ในบางครั้งอุณหภูมิอาจลดลงถึง 0 ํ C  เดือนที่หนาวเย็นที่สุดคือ มกราคม

มืองสำคัญทางภาคเหนือ ได้แก่

    ฮานอย (Ha Noi) เป็นเมืองหลวง มีพื้นที่ประมาณ 921 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2.2 ล้านคน ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง โดยมีแม่น้ำมากมายไหลผ่าน ได้แก่ The Duong, The Cau, The Ca Lo,
The Day, The Nhue, The Tich, The To Lich และ The Kim Nguu นอกจากนี้ ฮานอยยังเป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศและเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางภาคเหนือ มีสนามบินนานาชาติที่สำคัญคือ Noi Bai International Airport
ไฮฟอง (Hai Phong) มีพื้นที่ 1,503 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 1.7 ล้านคน เป็นเมืองท่าสำคัญในภาคเหนือและเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมี ต่อเรือ และวัสดุก่อสร้าง มีท่าเรือสำคัญคือ Hai Phong Port และสนามบิน Cat Bi Airport
กว๋างนินห์ (Quang Ninh) มีพื้นที่ 5,899 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 1 ล้านคน กว๋างนินห์เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนาม มีท่าเรือสำคัญได้แก่ Hon Gai Port นอกจากนี้ ยังเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรมากมาย อาทิ ป่าไม้ และเป็นแหล่ง ถ่านหินใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามมีชื่อเสียงระดับโลก คือ อ่าวฮาลอง (Ha Long Bay)
เซินลา (Son La) มีพื้นที่ 14,055 ตารางกิโลเมตร ประชากร 9 แสนคน โดยพื้นที่กว่าร้อยละ 80 เป็นไหล่เขา ซึ่งเหมาะแก่การทำฟาร์มโคนม มีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชาดำ
ลายเจิว (Lai Chau) มีพื้นที่ 7,365 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2 แสนคน มีสนามบินคือ Dien Bien Phu Airport
เตวียนกวาง (Tuyen Quang) มีพื้นที่ 5,868 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7 แสนคน เป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยป่าไม้ และไม้มีค่าต่างๆ รวมถึงพืชสมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด
หลาวกาย (Lao Cai) มีพื้นที่ 8,057 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6 แสนคน มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และไม้หายากหลายชนิด อาทิ Po Mu (Fukiena), Lat Hoa (Chukrasia Tabulario Cho Chi) รวมถึงพืชสมุนไพรและสัตว์หายากอื่นๆ เช่น กวาง หมูป่า เสือ เป็นต้น เมืองท่องเที่ยวสำคัญคือ เมืองซาปา (Sa Pa) ซึ่งอยู่บนภูเขาสูงและมีภูมิอากาศคล้ายยุโรป

ภาคกลาง

     ภาคกลางของเวียดนามยังมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากมาย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงซึ่งเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ หาดทราย เนินทราย และทะเลสาบ เป็นเขตพื้นที่ป่าไม้สำคัญที่สุดของเวียดนาม สภาพภูมิอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดูคือ
ฤดูฝน (พฤษภาคม-ตุลาคม) เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือ มิถุนายน-กรกฎาคม อุณหภูมิเกือบ 40 ํC
ฤดูแล้ง  (ตุลาคม-เมษายน)  เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม อุณหภูมิเกือบ 20 ํC

เมืองสำคัญทางภาคกลาง ได้แก่ 
ถัวเทียน - เว้ (Thua Tien - Hue) มีพื้นที่ 5,009 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1 ล้านคน เป็นอดีตเมืองหลวงของเวียดนาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ
ดานัง (Da Nang) มีพื้นที่ 1,256 ตารางกิโลเมตร ประชากร 7 แสนคนเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การท่องเที่ยว และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีสนามบินคือ Da Nang Airport และท่าเรือ Tien Sa Seaport

ภาคใต้

แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นที่ราบสูง แต่ก็มีที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong River Delta หรือที่รู้จักกันในชื่อ กู๋ลองยาง - Cuu Long Giang) อันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของนครโฮจิมินห์  (Ho Chi Minh City) หรืออดีตไซ่ง่อน (Saigon)
ภูมิอากาศของภาคใต้ค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  27 ํ C   มี 2 ฤดูเช่นเดียวกับภาคกลาง คือ
ฤดูฝนช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน เดือนที่อากาศร้อนที่สุดคือเมษายน อุณหภูมิประมาณ 39 ํC
ฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนที่อากาศเย็นที่สุดคือ มกราคม  อุณหภูมิประมาณ 26  ํC

ภาคใต้มีเมืองสำคัญ ได้แก่ 

  โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh City) มีพื้นที่ 2,095 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5.4 ล้านคน เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การนำเข้าส่งออก และเป็นเมืองท่าสำคัญ โดยมีสนามบินนานาชาติ Tan Son Nhat Airport และมีท่าเรือ Saigon Port โฮจิมินห์ ได้รับฉายาว่า "ไข่มุกแห่งเอเชียตะวันออก"
เกิ่นเธอ (Can Tho) มีพื้นที่ 1,390 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 1.1 ล้านคน เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่สำคัญ และเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดของเวียดนาม
เตี่ยนยาง (Tien Giang) มีพื้นที่ 2,367 ตารางกิโลเมตร ประชากร 1.6 ล้านคน เนื่องจากเตี่ยนยางตั้งอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเขตร้อน จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวและผลไม้ต่างๆ อาทิ ทุเรียน มะม่วง รวมถึงผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่นๆ
บาเรีย - หวุงเต่า (Ba Ria - Vung Tau) มีพื้นที่ 1,975 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8 แสนคน เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติ โดยเวียดนามสามารถผลิตน้ำมันได้มากที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เรียกว่า "Bac Ho" หรือ "White Tiger"




ราชอาณาจักรกัมพูชา



 ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia

การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล


 ลักษณะภูมิประเทศ
            ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีทั้งที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง และภูเขา พื้นที่ภูมิประเทศมีลักษณะคล้ายอ่างเก็บน้ำ กล่าวคือ พื้นที่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) และมีทะเลสาบขนาดใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนรอบ ๆ ประเทศมีเทือกเขาสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นแนวยาวสูงประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร อยู่ติดกับประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดจันทบุรีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตลอดไปทางด้านทิศเหนือ ส่วนภูเขาที่เป็นหย่อม ๆ มีอยู่บริเวณเกาะกง กำปงโสม และกำปงสะบือ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ
            บริเวณภาคกลางของประเทศ  สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๓๐ เมตร เริ่มตั้งแต่พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดพระตะบอง ไปถึงกำปงธม ไปรเวียง สวายเวียง และตาแก้ว ทางตอนใต้จดเขตแดนเวียดนาม แบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่ลักษณะคือ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ทะเลสาบ บริเวณที่ลุ่มลำคลอง หนองบึง บริเวณที่ทำนา และบริเวณเนินเขาขนาดเล็ก
            ที่ราบสูงภาคเหนือ  เริ่มตั้งแต่จังหวัดกระแจะ สตึงเตรง และรัตนคีรี ต่อจากที่ราบลุ่มภาคกลาง พื้นที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนสูงกว่า ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
                บริเวณที่ราบสูงตอนเหนือ  ในเขตจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ กัมปงธม มีภูเขาผ่านกลางบริเวณเป็นภูเขาลูกโดด ๆ
                บริเวณที่ราบสูงตะวันออกเฉียงเหนือ  อยู่ในเขตจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ แยกจากที่ราบสูงภาคเหนือด้วยแม่น้ำโขง พื้นที่เป็นเนินเขาดินอยู่ทั่วไป
                บริเวณที่ราบสูงกัมปงจาม  สูงประมาณ ๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะล
            บริเวณที่ราบสูงตามเขตชายแดน  อยู่ทางทิศเหนือติดต่อกับที่ราบสูงของไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นเชิงชายเทือกเขาจากเวียดนาม แบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
                บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก  ซึ่งมีสันปันน้ำแบ่งเขตแดนกับประเทศไทย
                บริเวณเทือกเขาคอนทูม (Kontum) เป็นแนวเส้นเขตแดนลาวกับกัมพูชา มีเชิงชายเทือกเขาอยู่ในเขตกัมพูชา ทางใต้ลงมาเป็นที่ราบสูงบ่อแก้ว สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๕๐๐ เมตร
                บริเวณที่ราบสูงโชลองเหนือ  เป็นแนวเส้นกั้นเขตแดนเวียดนามกับกัมพูชา มีความสูงระหว่าง ๔๐๐ ถึง ๙๐๐ เมตร
            บริเวณทิวเขากระวาน  รวมเทือกเขากระวาน และเทือกเขาช้าง ทิวเขานี้เริ่มต้นจากเขตจังหวัดจันทบุรีของไทย เป็นพืดติดต่อกันไป จนถึงจังหวัดกัมปอตของกัมพูชา ทิวเขานี้แบ่งออกเป็นสามตอนคือ
                เทือกเขากระวานตะวันตก  เริ่มจากเขตอำเภอไพลิน จังหวัดพระตะบอง ไปถึงแม่น้ำโพธิสัตว์ มียอดเขาที่สำคัญอยู่หลายยอด ที่สูงเกนิ ๑,๐๐๐ เมตร ยอดสูงสุด ๑,๕๖๓ เมตร
                เทือกเขากระวานกลาง  มียอดเขาที่สูงเกิน ๑,๐๐๐ เมตร อยู่หลายยอดด้วยกัน ยอดสูงสุดสูง ๑,๗๔๙ เมตร
                เทือกเขากระวานตะวันออก  แบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ
                    - เทือกเขาโพธิสัตว์กับกัมปงสะบือ ยอดเขาสูงสุด ๑,๘๑๓ เมตร
                    - เทือกเขา Au Malou อยู่ระหว่างกัมปงสะบือ กับ Sre Umbell มีที่ราบสูงคีรีรม อยู่ข้างบน
                    - เทือกเขาช้าง แยกออกจากเทือกเขา Au Malou มียอดสูง ๑,๐๗๕ เมตร
           บริเวณที่เป็นหย่อมเขา  คือ บริเวณที่ล้อมรอบทิวเขากระวาน มีภูเขาสูงปานกลาง โดยทั่วไปสูงไม่เกิน ๘๐๐ เมตร แบ่งออกเป็น ๖ ตอนคือ
                    - บริเวณชายทะเล เป็นพื้นที่ราบลาดสูงขึ้นไป บรรจบกับทิวเขากระวาน และติดต่อกับที่ราบตอนกลางได้สามทาง
                    - บริเวณหย่อมเขาทางทิตะวันตกของจังหวัดพระตะบอง
                    - บริเวณหย่อมเขาระหว่างจังหวัดโพธิสัตว์กับกัมปงชนัว
                    - บริเวณหย่อมเขากัมปงสะบือ
                    - บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปงสะบือกับกัมปอต
                    - บริเวณหย่อมเขาระหว่างกัมปอตกับตาแก้ว
แม่น้ำลำธารและทะเลสาบ
            กัมพูชาเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยแม่น้ำลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และมีทะเลสาบใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ บริเวณลุ่มน้ำสำคัญ ๆ มีอยู่สามแห่งด้วยกันคือแม่น้ำโขง ทะเลสาปและแม่น้ำทะเลสาป ติดต่อกับแม่น้ำบาสสัค (Bassac) กับแม่น้ำทางฝั่งทะเล
            แม่น้ำโขง  มีต้นน้ำจากประเทศธิเบต ไหลผ่านประเทศจีน พม่า ไทย ลาว เข้าสู่เขตแดนกัมพูชาที่หมู่บ้านอินนัง ทางภาคเหนือของกัมพูชา แล้วไหลผ่านจังหวัดสตึงเตรง กระแจะ กัมปงจาม และพนมเปญ  และไหลเข้าเขตแดนเวียดนามที่หมู่บ้านรินฮือ แม่น้ำโขงมีความยาวทั้งหมดประมาณ ๔,๕๐๐ กิโลเมตร  ในส่วนที่ไหลผ่านกัมพูชายาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๑ - ๒ กิโลเมตร ความลึกเป็นไปตามฤดูกาล ในฤดูน้ำบางตอนลึกถึง ๓๐ เมตร น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลเชี่ยวในฤดูน้ำ ลักษณะแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านกัมพูชาแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
                ช่วงที่ไหลผ่านระหว่างหมู่บ้านวินนังมาจนถึงจังหวัดกระแจะ  แม่น้ำโขงตอนนี้ไหลเชี่ยวเป็นตอน ๆ เช่น แซมบอดทางเหนือจังหวัดกระแจะประมาณ ๑๕ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยวมากเป็นระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร บางจุดกระแสน้ำไหลเชี่ยวมากประมาณ ๖๐ กิโลเมตร และยังมีเกาะแก่งอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ในช่วงนี้มีลำน้ำเสสาน และลำน้ำเสรปกไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่จังหวัดสตึงเตรงด้วย
               ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดกระแจะถึงพนมเปญ  มีความยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร มีเกาะแก่งและเนินทรายใต้น้ำอยู่เป็นบางแห่ง กระแสน้ำไม่เชี่ยว สามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาล แม่น้ำโขงในช่วงต่อจากพนมเปญ ไหลแยกออกเป็นสี่สาย  เรียกว่า  จตุรมุข คือ
                    - สายที่ ๑  คือ แม่น้ำโขงเดิม
                    - สายที่ ๒  คือ แม่น้ำโขงที่ไหลไปลงทะเลทางด้านทะเลจีนตอนใต้
                    - สายที่ ๓  คือ แม่น้ำบาสสัค
                    - สายที่ ๔  คือ แม่น้ำที่ไหลจากทะเลสาป เรียกว่า แม่น้ำทะเลสาป
               ช่วงที่ไหลผ่านพนมเปญถึงหมู่บ้านวินฮือ  แม่น้ำโขงช่วงนี้มีความยาวกว้างกว่า ๒ กิโลเมตร กระแสน้ำไหลเชี่ยว
แต่ยังสามารถใช้เดินเรือได้ทุกฤดูกาลจนถึงปากน้ำ ความแตกต่างของระดับน้ำในฤดูน้ำและฤดูแล้งประมาณ ๑๐ เมตร
                แม่น้ำโขงนอกจากให้ประโยชน์แก่ประเทศกัมพูชาในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญแล้ว ยังอำนวยประโยชน์ในด้านการกสิกรรมและการประมงด้วย เนื่องจากในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงได้ท่วมท้นไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อน้ำลดก็ได้ทิ้งปุ๋ยอันโอชะต่อพืชไว้ และในขณะเดียวกันก็มีปลาชุกชุมอยู่ตามบึงต่าง ๆ และในแม่น้ำโขงเอง
 


            แม่น้ำทะเลสาป (Tonle sap)  เป็นแม่น้ำที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาป มีความยาวประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ในฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำโขงจะไหลผ่านแม่น้ำสายนี้ลงสู่ทะเลสาป
            แม่น้ำบาสสัค (Bassac)  เป็นแม่น้ำสายเดียวกับแม่น้ำทะเลสาป ต่อจากแม่น้ำทะเลสาปที่หน้าพระราชวังกรุงพนมเปญ แล้วไหลไปยังประเทศเวียดนามที่บ้านบินห์ดี แล้วไหลผ่านเขตประเทศเวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ แม่น้ำสายนี้แคบกว่า แม่น้ำทะเลสาป มีความยาวประมาณ ๘๐ กิโลเมตร ใช้ในการเดินเรือได้ตลอดปี
            ทะเลสาป  นับว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ มีทิวเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลสาปโดยรอบ ในฤดูแล้ง ทะเลสาปจะมีความยาว ๑๕๐ กิโลเมตร ตอนกว้างที่สุด ๓๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในฤดูน้ำหลากเต็มที่ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ทะเลสาปจะมีพื้นที่ใหญ่กว่า ในฤดูแล้งประมาณสามเท่าคือ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร บริเวณน้ำท่วมจึงอยู่ระหว่างถนนรอบทะเลสาป ในด้านความลึก ฤดูน้ำจะลึกประมาณ ๑๒ - ๑๔ เมตร ในฤดูแล้ง น้ำที่ตื้นสุดประมาณ ๐.๘๐ เมตร ถึง ๒.๐๐ เมตร ลักษณะพื้นที่ตามบริเวณชายฝั่งจะเป็นดินตะกอน บริเวณที่ดอนเป็นที่โล่งแจ้ง ตามขอบทะเลสาปเป็นป่าละเมาะและป่าน้ำท่วม พื้นที่ทางด้านตะวันตกของทะเลสาปแบ่งออกได้เป็นสามตอนคือ
                ลานเลน  เป็นตอนที่ตื้นเขินในฤดูแล้ง โคลนเลนนี้จะกั้นทะเลสาปให้เป็นตอน ๆ ในฤดูแล้ง
                ทะเลสาปน้อย  เป็นตอนที่อยู่ทางด้านเหนือของลานเลน มีความยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร กว้าง ๒๕ กิโลเมตร ตามบริเวณชายฝั่งปกคลุมไปด้วยพงหญ้า
                ทะเลสาปใหญ่  เป็นตอนที่อยู่ทางเหนือของทะเลสาปน้อย มีความยาวประมาณ ๗๕ กิโลเมตร และกว้าง ๓๒ กิโลเมตร
                ทะเลสาปของประเทศกัมพูชามีประโยชน์ต่อการกสิกรรม การเดินเรือ และการประมงในประเทศเป็นอย่างมาก ในฤดูฝนสามารถใช้เดินเรือขนาดต่าง ๆ ได้ แต่ในฤดูแล้งจะใช้เดินเรือได้เฉพาะเรือขนาดเล็กเท่านั้น ในฤดูน้ำหลาก พื้นที่ป่าจะถูกน้ำท่วม เมื่อน้ำลดก็จะทิ้งปุ๋ยอันเป็นประโยชน์ต่อพืช ทะเลสาปอุดมไปด้วยปลาน้ำจืดนานาชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                ลำน้ำทางอ่าวไทย  ลำน้ำหลายสายมีต้นกำเนิดมาจากทิวเขากระวาน แล้วไหลลงสู่ทะเล ส่วนมากเป็นลำน้ำเล็ก ๆ และสั้น มีความกว้างประมาณ ๑๕ - ๒๐ เมตร

 


ฝั่งทะเลและเกาะ
            ประเทศกัมพูชามีฝั่งทะเลยาวประมาณ ๔๔๐ กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในหกของเส้นพรมแดนทั้งประเทศ เป็นฝั่งทะเลที่อยู่ในอ่าวไทยทั้งสิ้น เป็นพรมแดนซึ่งกั้นประเทศกัมพูชา ออกจากแหลมมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะชวา
            ฝั่งทะเลของประเทศกัมพูชามีลักษณะเว้าแหว่ง ประกอบด้วยสองแหลมใหญ่ ๆ คือ แหลมสามิต (Semit, Smach) และแหลมวีลเรนห์ (Veal Renh)  โดยทั่วไปความลึกใกล้ฝั่งทะเลด้านนี้มีความลึกประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร
            ความแตกต่างของระดับน้ำทะเลขึ้นลงไม่เกิน ๒ เมตร ลักษณะของฝั่งทะเลจากเขตแดนไทยถึงปากน้ำ Koki เป็นที่ราบลุ่มมีหนองบึงมาก จากปากน้ำ Koki ถึงแหลม Sorivong มีหินระเกะระกะอยู่ทั่วไป บริเวณกัมปงโสมไปถึงพรมแดนเวียดนาม มีลักษณะเป็นหาดเลน โขดหิน และหาดทรายสลับกันไป พื้นทะะเลส่วนใหญ่ มีลักษณะราบ และแบน แต่ในที่บางแห่ง เช่น ที่แหลมโต๊ะ ซึ่งอยู่ที่ฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออก มีเนินใต้น้ำสูงถึง ๕๐ เมตร และมีเกาะสลัด ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะฟูก๊ก มีเนินเปลือกหอยปกคลุมอยู่ เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ
            ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) ท้องทะเลในอ่าวไทย จะมีลักษณะราบเรียบ แต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พฤษภาคม - พฤศจิกายน) กระแสลมพัดมาปะทะฝั่งประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดคลื่นจัด ทำให้การเดินเรือยาก และมีอันตราย
            ฝั่งทะเลประเทศกัมพูชา มีอ่าวใหญ่น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก อ่าวที่สำคัญอ่าวหนึ่งคือ อ่าวกัมปงโสม อยู่บริเวณจากแหลมสามิต (Semit) ไปทางทิศตะวันออก ชายหาดเป็นโคลนโดยทั่วไป ที่ปากอ่าวมีเกาะรง และเกาะรงสามแหลม เป็นที่กำบังเคลื่อนลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อ่าวนี้มีบริเวณเหมาะแก่การตั้งท่าเรือ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเรียม ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีท่าเรือชื่อ สีหนุ ฝั่งทะเลจากท่าเรือสีหนุไปมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ติดต่อกันไปจนถึง อ่าวเรียม ที่ปากอ่าวเรียมมีเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ ทำให้ท่าเรือเรียม อยู่ในที่กำบังลมอย่างดี จากท่าเรือเรียมมีถนนเลียบฝั่งทะเล ขึ้นไปทางเหนือ และไปบรรจบถนนมิตรภาพที่เขื่อนท่าเรือสีหนุ กับกรุงพนมเปญ นอกจากนี้ยังมีถนนแยกเลียบฝั่งทะเลไปทางทิศตะวันออก จนถึงเมืองกัปปอตด้วย
            มีเกาะขนาดใหญ่ที่มีราษฎรอาศัยอยู่สองเกาะคือ เกาะกง และเกาะฟูก๊ก


 




สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว






สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic

การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ

 
อาณาเขตประเทศลาว

ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน (423 ตารางกิโลเมตร)
ทิศใต้ ติดกับ ราชอาณาจักรกัมพูชา (541 ตารางกิโลเมตร)
ทิศตะวันออก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (2,130 ตารางกิโลเมตร)
ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) (235 ตารางกิโลเมตร)
ทิศใต้และทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศไทย (1,754 ตารางกิโลเมตร)

ประเทศลาวมีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
ช่วงที่กว้างที่สุดของประเทศมีความยาว 500 กิโลเมตร ช่วงที่แคบที่สุดของประเทศมีความยาว 150 กิโลเมตร

หมายเหตุ:
เขตแดนไทย - ลาว ประเทศไทยมีเส้นแบ่งเขตแดนติดต่อกับ สปป.ลาว ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย,
พะเยา, น่าน, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เลย, หนองคาย, นครพนม, อำนาจเจริญ, มุกดาหารและอุบลราชธานี
และ 9 แขวงของลาวได้แก่ แขวงบ่อแก้ว, แขวงไซยะบุรี, แขวงเวียงจันทน์, นครหลวงเวียงจันทน์, แขวงบอลิคำไซ,
แขวงคำม่วน, แขวงสะหวันนะเขต, แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก
  

   ภูมิประเทศลาว



   ลาว เป็นประเทศที่มีขุนเขาสลับซับซ้อน พื้นที่กว่าร้อยละ 90 มีความสูงมากกว่า 180 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
   พื้นที่ประมาณ 70% เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศลาว คือ ภูเบี้ย
   ตั้งอยู่ในแขวงเชียงขวาง ทางภาคเหนือของประเทศ มีความสูงทั้งสิ้น 2,820 เมตรจากระดับน้ำทะเลและยังพบภาชนะ
   ยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปทรงคล้ายไห กระจายอยู่ทั่วไป เรียกว่า ทุ่งไหหินมีเทือกเขาอันหนำพาดผ่านจากตะวันตกเฉียงเหนือ
   ลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ยาวราวกึ่งหนึ่งของประเทศและเป็นพรมแดนกั้นประเทศลาวกับประเทศเวียดนามเนื่องจากสภาพ
   ภูมิประเทศเป็นป่าไม้และภูเขาสูงจึงพื้นที่เพาะปลูกเพียง 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมด


  
   อดีตที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 14 นับแต่สมัย สมเด็จเจ้าฟ้างุ้มมหาราชอาณาจักรล้านช้างมีเนื้อที่กว้างใหญ่กว่าในปัจจุบัน
   คือ มีเนื้อที่ถึง 480.000 ตารางกิโลเมตร แต่ต่อมาภายหลังเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศสยาม หลังจากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้
   การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ในยุคล่าอาณานิคม ทำให้สปป.ลาว มีเนื้อที่ในปัจจุบันเหลือเพียง 236.800 ตารางกิโลเมตร


ภูมิอากาศ

สปป.ลาว มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้จึงทำให้แบ่งสภาพภูมิอากาศ
ออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน     เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ปลายเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน       เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน - ปลายเดือนกันยายน
ฤดูหนาว   เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมเดือนกุมภาพันธ์

อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์ 25 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เมษายน)
อุณหภูมิเฉลี่ยที่หลวงพระบาง 20 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 32-34 องศาเซลเซียส (เมษายน)
ช่วงหน้าหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยบนภูเขาทางภาคเหนือ 10-15 องศาเซลเซียส


การเมืองการปกครองในประเทศลาว

สปป.ลาว ได้สถาปนาประเทศมาเป็นระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย เมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518 (ต่อมาถือเป็นวันชาติ)
พรรคการเมืองมีเพียงพรรคเดียวคือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว” (มีอำนาจสูงสุดนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง)  
มีประธานพรรคเป็นประมุขของประเทศเรียกว่า ประธานประเทศ”  ปัจจุบัน คือ ฯพณฯท่าน พลโท จุมมะลี ไชยะสอน
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขฝ่ายบริหารและหัวหน้ารัฐบาล ปัจจุบันคือ ฯพณฯท่าน บัวสอน บุบผาวัน
ทั้ง 2 ตำแหน่งได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากสภาแห่งชาติ (ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)
อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี รัฐธรรมนูญฉบับแรกประกาศใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2534
(แต่เดิมกฎหมายจะอยู่ในรูปของคำสั่งฝ่ายบริหาร คือระเบียบคำสั่งของพรรคและสภารัฐมนตรี)