

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic
Republic
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
อาณาเขตประเทศลาว
ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน (423 ตารางกิโลเมตร)
ทิศใต้ ติดกับ ราชอาณาจักรกัมพูชา (541 ตารางกิโลเมตร)
ทิศตะวันออก
ติดกับ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (2,130 ตารางกิโลเมตร)
ทิศตะวันตก
ติดกับ
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) (235 ตารางกิโลเมตร)
ทิศใต้และทิศตะวันตก
ติดกับ
ประเทศไทย (1,754
ตารางกิโลเมตร)
ประเทศลาวมีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ
1,000 กิโลเมตร
ช่วงที่กว้างที่สุดของประเทศมีความยาว 500 กิโลเมตร ช่วงที่แคบที่สุดของประเทศมีความยาว 150 กิโลเมตร
หมายเหตุ:
เขตแดนไทย
- ลาว ประเทศไทยมีเส้นแบ่งเขตแดนติดต่อกับ
สปป.ลาว ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย
ได้แก่ เชียงราย,
พะเยา, น่าน, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เลย, หนองคาย, นครพนม, อำนาจเจริญ, มุกดาหารและอุบลราชธานี
และ 9 แขวงของลาวได้แก่ แขวงบ่อแก้ว, แขวงไซยะบุรี, แขวงเวียงจันทน์, นครหลวงเวียงจันทน์, แขวงบอลิคำไซ,
แขวงคำม่วน, แขวงสะหวันนะเขต, แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก
ภูมิประเทศลาว
ลาว เป็นประเทศที่มีขุนเขาสลับซับซ้อน พื้นที่กว่าร้อยละ 90 มีความสูงมากกว่า 180 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
พื้นที่ประมาณ 70% เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน
มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศลาว คือ “ภูเบี้ย”
ตั้งอยู่ในแขวงเชียงขวาง ทางภาคเหนือของประเทศ
มีความสูงทั้งสิ้น 2,820
เมตรจากระดับน้ำทะเลและยังพบภาชนะ
ยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปทรงคล้ายไห
กระจายอยู่ทั่วไป เรียกว่า “ทุ่งไหหิน” มีเทือกเขาอันหนำพาดผ่านจากตะวันตกเฉียงเหนือ
ลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้
ยาวราวกึ่งหนึ่งของประเทศและเป็นพรมแดนกั้นประเทศลาวกับประเทศเวียดนามเนื่องจากสภาพ
ภูมิประเทศเป็นป่าไม้และภูเขาสูงจึงพื้นที่เพาะปลูกเพียง
50,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมด
อดีตที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 14 นับแต่สมัย “สมเด็จเจ้าฟ้างุ้มมหาราช” อาณาจักรล้านช้างมีเนื้อที่กว้างใหญ่กว่าในปัจจุบัน
คือ มีเนื้อที่ถึง 480.000 ตารางกิโลเมตร
แต่ต่อมาภายหลังเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศสยาม หลังจากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้
การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ในยุคล่าอาณานิคม
ทำให้สปป.ลาว มีเนื้อที่ในปัจจุบันเหลือเพียง 236.800 ตารางกิโลเมตร
ภูมิอากาศ
สปป.ลาว
มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้จึงทำให้แบ่งสภาพภูมิอากาศ
ออกเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ – ปลายเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน -
ปลายเดือนกันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์
อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์
25 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เมษายน)
อุณหภูมิเฉลี่ยที่หลวงพระบาง 20 องศาเซลเซียส (มกราคม) และ 32-34 องศาเซลเซียส (เมษายน)
ช่วงหน้าหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยบนภูเขาทางภาคเหนือ
10-15 องศาเซลเซียส
การเมืองการปกครองในประเทศลาว

พรรคการเมืองมีเพียงพรรคเดียวคือ “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” (มีอำนาจสูงสุดนับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง)
มีประธานพรรคเป็นประมุขของประเทศเรียกว่า
“ประธานประเทศ” ปัจจุบัน คือ ฯพณฯท่าน พลโท
จุมมะลี ไชยะสอน
โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขฝ่ายบริหารและหัวหน้ารัฐบาล
ปัจจุบันคือ ฯพณฯท่าน บัวสอน บุบผาวัน
ทั้ง 2 ตำแหน่งได้รับการพิจารณาแต่งตั้งจากสภาแห่งชาติ
(ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)
อยู่ในตำแหน่งคราวละ
5 ปี
รัฐธรรมนูญฉบับแรกประกาศใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2534
(แต่เดิมกฎหมายจะอยู่ในรูปของคำสั่งฝ่ายบริหาร
คือระเบียบคำสั่งของพรรคและสภารัฐมนตรี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น